วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ผีเสื้อปางสีดา

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus)


ชื่อท้องถิ่น:    กระรอกท้องแดง
ชื่อสามัญ:    Belly-Banded Squirrel, Irrawaddy Squirrel
ชื่อวิทยาศาสตร์:    Callosciurus pygerythrus
ชื่อวงศ์:    Sciuridae
ประเภทสัตว์:    สัตว์บก-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


กระรอกท้องแดงรือ กระรอกอิระวดี หรือที่นิยมเรียกกันว่า กระรอกสวน (อังกฤษ: Belly-Banded Squirrel, Irrawaddy Squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus pygerythrus จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 21 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 18 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280 กรัม มีสีลำตัวและหางสีน้ำตาล หลังมีแถบสีดำ ส่วนท้องเป็นสีแดง
มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง คือ พบตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนามจนถึงคาบสมุทรมลายู มีชนิดย่อย 7 ชนิดด้วยกัน โดยในประเทศไทยนับเป็นกระรอกชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่สวนหรือสวนสาธารณะในเขตตัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่า "กระรอกสวน" ในภูมิภาคพบได้ทั่วประเทศ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น ๆ ทั่วไป

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เหมียวๆ เที่ยวระเบียงดาว

นานแล้วที่เหมียวๆ ไม่ได้ออกเที่ยว..
ทริปนี้ เหมี่ยวๆ ตระเวน 3 ดอย
เที่ยวอินทนนท์ ชมวิวกิ่วแม่ปาน
สัมผัสบรรยากาศดีๆ สตอร์เบอรีหวานๆ ที่ศูนย์เกษตรหลวงหนองหอย/ดอยม่อนแจ่ม
นอนหนาวที่ อ่างขาง






แล้วก็นั่งชมดาว เคียงคู่ดอยหลวงเชียงดาว ที่บ้านระเบียงดาว

จริงๆ แล้ว เมียวก็ไปมาหมดละทั้งสามดาย
แต่ว่า ม่อนแจ่มปีนี้ เค้าโปรโมตเต็มที่ เหมียวต้องไปซะหน่อย.
ส่วนบ้านระเบียงดาว...เค้าก็ฮิตมาหลายปี ครั้งก่อนที่เหมียวไปขึ้นดอยหลวงเชียงดาวก็ไม่ได้แวะ
คราวนี้เลยจัดไป ระเบียงดาวโดยเฉพาะซะเลย ไม่ขึ้นยอดดอยหลวงละเหนื่อย แค่ระเบียงดาว ก็หนาว+ สวย พอแล้ว




วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus)


ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ ป่าดงดิบชื้นแบบมลายู มักชอบอยู่ตามชายป่าหรือตามป่ารุ่น ไม่ค่อยพบในป่าที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบได้ในป่าชายเลน สวนป่า และสวนผลไม้ เป็นชนิดที่พบบ่อย อาหาร อุปนิสัย หากินในเวลากลางวัน มีกิจกรรมมากในช่วงเช้ามืดและช่วงบ่ายแก่ๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้ในเรือนยอดระดับต่ำ
กระรอกชนิดนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพที่อยู่อาศัยได้ดี พบว่าอยู่ได้ทั้งในป่าธรรมชาติและในสวนผลไม้
ลักษณะโดยทั่วไปมีขนคลุมตัวสีน้ำตาล ขนท้องสีแดง ด้านข้างลำตัวมีแถบขนสีขาวและสีดำระหว่างโคนขาทั้งสอง

รูปเพิ่มเติมถ่ายได้จากพัทลุง โดย Auamporn Chiamset


วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis)


พญากระรอกเหลือง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa affinis เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำ (R. bicolor) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพญากระรอกดำ แต่มีขนสีเหลืองครีมอ่อน ๆ ท้องสีขาว ขนหางสีเข้มกว่าลำตัว แก้มทั้งสองข้างมีสีเทาอ่อน หูและเท้าทั้ง 4 ข้าง มีสีดำ และมีขนาดเล็กกว่า โดยโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 31-36 เซนติเมตร หางยาว 37.5-41.5 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1.4 กิโลกรัม มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย

พบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว อาศัยและหากินบนยอดไม้สูง ไม่ค่อยลงพื้นดิน มีพฤติกรรมความเป็นอยู่และนิเวศน์วิทยาคล้ายพญากระรอกดำ

ปัจจุบันเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor)

พญากระรอกดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa bicolor ในวงศ์กระรอก (Sciuridae) วงศ์ย่อยพญากระรอก Ratufinae เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33 - 37.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 42.5 - 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 1 - 1.6 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย ภาคตะวันออกของเนปาล ภาคใต้ของจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1 - 2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง สถานะของพญากระรอกดำในธรรมชาติในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แต่ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

พญากระรอกดำ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "กระด่าง"

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มกระรอกบิน

กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด














* พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
* พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
* พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
* พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
* กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei)
* กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger)
* กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus)
* กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus)
* กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
* กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
* กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni)
* กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus)