วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus)


ถิ่นที่อยู่อาศัย
พบในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ ป่าดงดิบชื้นแบบมลายู มักชอบอยู่ตามชายป่าหรือตามป่ารุ่น ไม่ค่อยพบในป่าที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบได้ในป่าชายเลน สวนป่า และสวนผลไม้ เป็นชนิดที่พบบ่อย อาหาร อุปนิสัย หากินในเวลากลางวัน มีกิจกรรมมากในช่วงเช้ามืดและช่วงบ่ายแก่ๆ อาศัยอยู่บนต้นไม้ในเรือนยอดระดับต่ำ
กระรอกชนิดนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพที่อยู่อาศัยได้ดี พบว่าอยู่ได้ทั้งในป่าธรรมชาติและในสวนผลไม้
ลักษณะโดยทั่วไปมีขนคลุมตัวสีน้ำตาล ขนท้องสีแดง ด้านข้างลำตัวมีแถบขนสีขาวและสีดำระหว่างโคนขาทั้งสอง

รูปเพิ่มเติมถ่ายได้จากพัทลุง โดย Auamporn Chiamset


วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis)


พญากระรอกเหลือง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa affinis เป็นกระรอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากพญากระรอกดำ (R. bicolor) ที่พบในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพญากระรอกดำ แต่มีขนสีเหลืองครีมอ่อน ๆ ท้องสีขาว ขนหางสีเข้มกว่าลำตัว แก้มทั้งสองข้างมีสีเทาอ่อน หูและเท้าทั้ง 4 ข้าง มีสีดำ และมีขนาดเล็กกว่า โดยโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 31-36 เซนติเมตร หางยาว 37.5-41.5 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1.4 กิโลกรัม มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย

พบได้ในป่าดิบในภาคใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว อาศัยและหากินบนยอดไม้สูง ไม่ค่อยลงพื้นดิน มีพฤติกรรมความเป็นอยู่และนิเวศน์วิทยาคล้ายพญากระรอกดำ

ปัจจุบันเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor)

พญากระรอกดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ratufa bicolor ในวงศ์กระรอก (Sciuridae) วงศ์ย่อยพญากระรอก Ratufinae เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33 - 37.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 42.5 - 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 1 - 1.6 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย ภาคตะวันออกของเนปาล ภาคใต้ของจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1 - 2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง สถานะของพญากระรอกดำในธรรมชาติในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) แต่ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

พญากระรอกดำ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "กระด่าง"

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มกระรอกบิน

กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด














* พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
* พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
* พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
* พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
* กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei)
* กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger)
* กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus)
* กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus)
* กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
* กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
* กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni)
* กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus)

กลุ่มกระรอกต้นไม้และกระรอกดิน

กลุ่มกระรอกต้นไม้และกระรอกดินมี ทั้งหมด17 ชนิด

* พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor)
* พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis)
* กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus)
* กระรอกข้างลายท้องเทา (Callosciurus nigrovittatus)
* กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus)
* กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni)
* กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps)
* กระรอกหลากสี (Callosciurus prevostii)
* กระรอกหางม้าใหญ่ (Sundasciurus hippurus)
* กระรอกหางม้าเล็ก (Sundasciurus tenuis)
* กระรอกหางม้าจิ๋ว (Sundasciurus lowii)
* กระเล็นขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei)
* กระเล็นขนปลายหูสั้น (Tamiops mcclellandi)
* กระจ้อน (Menetes berdmorei)
* กระรอกหน้ากระแต (Rhinosciurus laticaudatus)
* กระรอกลายแถบ (Lariscus insignis)
* กระรอกดินแก้มแดง (Dremomys rufigenis)

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแบ่งกลุ่มกระรรอก


กระรอก จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยนตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ

กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่
กระรอกต้นไม้ (tree squirrels)
กระรอกดิน (ground squirrels)
และ กระรอกบิน (flying squirrels)

วงศ์กระรอก มีวงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ
วงศ์ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน
และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ

กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย

อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของกระรอก....(บอกแล้วต้องระวัง)



กระรอกไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ๋ไหน มีลักษณะที่ค่อนข้างเด่นชัด คือนิดสัยขี้เล่น...

..น่ารักใช่ไหมนิสัยขี้เล่นที่ว่า....
แต่อย่าลืมข้อมูลต่อจากนี้ซะละ เด๋วจะน้ำตาตกได้
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า กระรอกเป็นสัตว์ฟันเทะ ...ก็คือฟันของกระรอก จะงอกยาวขึ้นเรื่อย ๆ ธรรมชาติของมันจึงต้องกาอะไรมากัดมาเทะให้ฟันสึก
เล็บ...กระรอกจะยาวเร็ว ทั้งนี้เพราะปกตินิสัยของกระรอกไต่อยู่ตามน้นไม้ กระโดดไปกระโดดมา(แต่ถ้าเราเลี้ยงไว้ ก็จะมาใต่ตามตัว...เสื้อผ้าของเรา ทีนี้ละซี๊ดดดด)

ใครเคยเลี้ยงแมวไว้ในบ้านบ้าง?
เฟอร์นิเจอร์ โซฟา ม้านั่ง เก้าอี้ เป็นไงบ้างครับ ตัวที่แพง ๆ คือที่ลับเล็บของเขาใช่ไหม?
ไม่ต้องแปลกใจหาก กระรอกตัวโปรดของคุณ จะมีรสนิยมเช่นเดียวกันคือ กัดเสื้อผ้า กัดสิ่งของในบ้านเสียหาย ชอบชากถุงเท้า ไปซ่อน...(จริงๆ แล้วเค้าอาจเอาไปทำีที่นอนอุ่นๆ เหมือนเจ้าตัวซนของผมก็ได้)

อีกอย่างคือ...กลิ่น...
กลิ่นอะไรเหรอ....ก็กลิ่นของตัวคุณ...กลิ่นของกระรอก(รวมถึงบรรยาสัตว์ที่มีอาณาเขต)ด้วยนะ

สรุปเรื่องที่คุณต้องทำใจเมื่อคิดจะเลี้ยงสัตว์"โดยเฉพาะกระรอก"
1.คุณต้องรักกระรอกมากกว่าเสื้อผ้าราคาแพง...
2.คุณต้องต้องทำใจ ..ทำใจมากๆ เลย
3.คุณต้องมีเวลาดูแลเล่นกับเค้า อย่างน้อยวันละครั้ง อาจเป็นให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ หรือทำอะไรก็ได้ ให้เค้าเห็นหน้าคุณ ไม่อย่างนั้น ...ระวังโดนกัดนะ
3.คุณต้องมีระเบียบนะ..ก็เจ้าตัวซนของคุณจะชอบกระโดดไปกระโดดมา...ถ้าคุณไม่เก็บห้องเก็บบ้านให้ดีละก็...แก้ว อะไรที่แตกได้จะหล่นแตกเป็นว่าเล่น... (เศร้าไหมละ)
4.อะไรที่เข้ามาในห้อง(ในบ้านหรือพี้นที่ที่ปล่อยเค้าออกมาวิ่งเล่น) ต้องลองกัด...เรื่องนี้จำไว้เลย ไม่ว่าอะไรก็ตามที่คุณเอามา เค้าต้องอลงงับๆ ดูซะหน่อยว่ามันเป็นยังไง... ยิ่งหนี ยิ่งซ่อนเค้าก็จะยิ่งอยากกัด ไม่ว่าคุณจะเก็บไว้ที่ไหนเค้าจะพยายามไปหาโอกาสกัดจนได้

เป็นไหงครับ..แค่สี่ข้อนี้..รับกันไหวไหม