กระรอก กระรอกไทย กระรอกบินที่พบในเมืองไทย ข้อมูลทัวไปและข้อมูลจากประสปการณ์ตรงของผู้เขียน เป็นการแลกเปลี่ยนประสปการณ์และทัศนะระหว่างกัน ทำไมจึงชื่อกระรอกบินไทย ก็ เอาคำว่า กระรอก กระรอกบิน และกระรอกไทย มารวมกันไงครับ เราจะได้ทำความรู้จักกับเจ้าตัวน้อยกันให้มากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus)
ชื่อท้องถิ่น: กระรอกท้องแดง
ชื่อสามัญ: Belly-Banded Squirrel, Irrawaddy Squirrel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Callosciurus pygerythrus
ชื่อวงศ์: Sciuridae
ประเภทสัตว์: สัตว์บก-สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระรอกท้องแดง หรือ กระรอกอิระวดี หรือที่นิยมเรียกกันว่า กระรอกสวน (อังกฤษ: Belly-Banded Squirrel, Irrawaddy Squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Callosciurus pygerythrus จัดเป็นกระรอกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 21 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 18 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280 กรัม มีสีลำตัวและหางสีน้ำตาล หลังมีแถบสีดำ ส่วนท้องเป็นสีแดง
มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง คือ พบตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, ตอนใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนามจนถึงคาบสมุทรมลายู มีชนิดย่อย 7 ชนิดด้วยกัน โดยในประเทศไทยนับเป็นกระรอกชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่สวนหรือสวนสาธารณะในเขตตัวเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่า "กระรอกสวน" ในภูมิภาคพบได้ทั่วประเทศ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็มีการนิยมซื้อขายและเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่น ๆ ทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)